ได้จัดทำวิดีโอใหม่ให้กับ เครือข่ายแพทย์ยุคใหม่ฯ เพื่อฉายวันที่ 1 เมษายน 2554 ครับ
จะเล่าเรื่อง การก่อตั้งเครือข่ายให้ฟังครับ…
หลายคน ที่รู้จักผมเอง ส่วนหนึ่งมองผมในแง่ที่มีส่วนร่วมทางสังคม ทั้งการไปร่วมชุมนุมทางการเมือง, การเป็นทีมทำงานให้กับอนุกรรมาธิการของวุฒิสภา, การเคลื่อนไหวเชิงพัฒนาคุณภาพในมหาวิทยาลัย ครั้งนี้คงเป็นอีกเรื่องเล่าหนึ่งครับ…
การก่อตั้งเครือข่ายแพทย์ยุคใหม่ฯ แรกเริ่ม เป็นครั้งที่ผมได้ไปเจอกับ พญ.เพ็ญนภา ทวีวงศ์ประเสริฐ และ นพ.ศุภชัย ครบตระกูลชัย ที่รายการโทรทัศน์ เป็นประเด็นเกี่ยวกับเรื่อง พรบ.สาธารณสุข ที่โด่งดังมากช่วงปี 2553
หลังจากนั้น พี่แพทย์ใช้ทุนทั้งสองท่าน มีดำริอยากจะตั้งเครือข่ายแพทย์ที่ทำงานทางด้านสังคม สำหรับคนรุ่นเราขึ้นมา…
ได้หาทุนสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดี และสรรหากรรมการชุดก่อตั้ง จากบรรดานักกิจกรรมที่เป็นนักศึกษาแพทย์ หรือแพทย์จบใหม่ ไปประชุมกินอยู่หลับนอนค้างคืนร่วมกัน เพื่อวางแผนการทำกิจกรรมดีดีให้สังคม
โครงการที่คิดกันคงมีจำนวนมาก แต่จะเป็นจริงได้หรือไม่ คงให้กำลังใจกันต่อไปครับ
ตอนนี้ เครือข่ายแพทย์ยุคใหม่ฯ ได้มีงานประจำหนึ่งอย่างคือ การจัดทำหนังสือและการจัดทำการนำเสนอ ในงานวันจับฉลากเพิ่มพูนประสบการณ์ของบุคลากรทางสาธารณสุข 1 เมษายน 2554
ผมก็ได้รับเกียรติเอาบทความปรับปรุงไปลงหนังสือของพี่ๆเขาด้วย น่ายินดี และขอบคุณมากครับ
คิดว่าการตั้งเครือข่ายแพทย์ยุคใหม่ฯนี้ อาจมีตัวอย่างตนแบบที่น่าสนใจ จากเครือข่ายแพทย์ในอดีต 2-3 ทศวรรษก่อน ทั้งชมรมแพทย์ชนบท, เครือข่ายสามพราน และนำมาสู่บุคลากรและผู้บริหารในแวดวงสาธารณสุขปัจจุบัน
เครือข่ายในอดีตที่ว่ามานี้ ก่อตั้งจากกลุ่มนักกิจกรรม อดีตนักศึกษาเดือนตุลาฯและนักเคลื่อนไหว ที่ต่อมามีบทบาทมากสำหรับวงการสาธารณสุข จนถูกกล่าวหาว่าเป็นมาเฟียกันเลยทีเดียว
หลายคนต่อมาก็เข้าคณะกรรมการปฏิรูปประเทศหลายสมัย (แต่ประเทศยังไม่พัฒนาขึ้น ก็โทษกันไม่ได้ เพราะสังคมไทยยังมีปัญหาทั้งระบบ ทุกระดับ จะให้คนกลุ่มเดียวเปลี่ยนประเทศได้คงต้องจ้างทีม WATCHMEN (หนังฮีโร่ยอดมนุษย์) แล้วล่ะครับ – คณะกรรมการปฏิรูปประเทศปัจจุบันชุดอานันท์เคยเชิญผม(และเยาวชนอีกจำนวนมาก)เข้าร่วมประชุมอนุกรรมาธิการ ตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ปีสุดท้าย ซึ่งไม่ว่างไปเลยครับ กระนั้นในภายหลัง คณะกรรมการปฏิรูปประเทศก็ไม่ได้มีแรงที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมไทยที่เสื่อมโทรมลง ทุกวันนี้ ได้เท่าไรนัก
เครือข่ายในอดีต สามสิบปีก่อน ทุกวันนี้ ได้ทำให้เกิดการปฏิรูประบบสาธารณสุข และเกี่ยวข้องกับเครือข่ายตระกูลสอ ทั้ง สสส., สปสช. (สำนักประกันสุขภาพแห่งชาติ), สช. (สุชภาพแห่งชาติ), ตลอดจนองค์กรลูกต่างๆ เป็นอย่างมาก…
โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค และระบบประกันสุขภาพ ตั้งแต่สมัยทักษิณ ก็ยืมมืออุดมการณ์ของเครือข่ายเหล่านี้ เพื่อประชาสัมพันธ์ทางการเมืองมามาก
ถ้าเอ่ยถึงบรรดาเสือในชมรมแพทย์ชนบท
เจ้าสำนัก(ตามความเข้าใจหลายคน)
อ.นพ.ประเวศ วะสี
[ภาพด้านล่าง จากการเข้าร่วมงานจิตตปัญญาศึกษา 1พย51 ได้ถ่ายภาพท่านอย่างใกล้ชิด]
ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว คือ อ.นพ.สงวน นิตยารัมพงศ์ ได้ฉายาว่า บิดาแห่งหลักประกันสุขภาพไทย
ผู้ที่ยังอยู่ คือ อ.นพ.วิชัย โชควิวัฒน์
และ
อ.นพ.อำพล จินดาวัฒนะ
(ผมเคยได้เกียรติรับหนังสือการดูงานมูลนิธิฉือจี้ ประเทศไต้หวัน “จิตอาสา พลังสร้างโลก” ผลงานเขียนของท่าน พร้อมลายเซ็น)
และท่านอื่นๆ
เครือข่ายในอดีตที่ว่ามา ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม แต่ก็ทำให้เกิดผลกระทบ เบียดเบียนบุคลากรในวงการสาธารณสุข และผลในอีกด้านหนึ่งกับสังคมมิใช่น้อย ข้อกล่าวหาหนึ่งที่มักถูกว่าคือผู้ปฏิบัติงานมองว่าพวกเขาเหล่านั้น นั่งแท่นบริหารอย่างเดียว โดยไม่ได้ลงมาสัมผัสวิถีชีวิตคนทำงานติดดินกับชาวบ้านเลย (และชาวบ้านก็ไม่ได้รักหมอเพิ่มขึ้น แต่ไปรักทักษิณแทนซะอีกน่าเศร้าใจ)
จะว่าไป ไม่ว่าจะทำอะไร ก็คงมีทั้งข้อดี ข้อเสีย คงต้องชั่งน้ำหนักให้ดี “คนที่ไม่เคยทำผิด…คือคนที่ไม่เคยทำอะไรเลย”
ก็เป็นเรื่องน่าเชียร์และสนับสนุน หาก พญ.เพ็ญนภา และ นพ.ศุภชัย จะพยายามสร้างเครือข่าย จะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ ติดตามกันต่อไปครับ…
เลขาธิการเครือข่ายฯ คนปัจจุบัน คือ พญ.ภัทราภรณ์ พุ่มเรือง ครับ
เครือข่ายแพทย์ยุคใหม่ ใส่ใจ ใฝ่รู้ เพื่อการสร้างสรรค์สังคม http://www.thaiyouthpower.com/
ดุษวรรณ สุวรรณวงศ์
สุดยอดมาก พี่กล้า เก่งจิงๆ
admin
ขอบคุณมากครับ ไม่เก่งหรอกครับ ^_^