ใครต้องการสาระของประชาธิปไตย?
จากการที่เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 52 มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้จัดการ อภิปราย “3 ปีวันประหารรัฐประชาธิปไตย” ที่ห้องประชุม อาคารศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ ได้ปาฐกถาในหัวข้อ“แสวงหาสาระของประชาธิปไตยสำหรับเมืองไทย”
Link ปาฐกถา ส.ศิวลักษณ์
ข้าพเจ้า นายชเนษฎ์ ศรีสุโข ใคร่ขอแสดงความคิดเห็น ในวงสนทนาระดับหนึ่ง เพื่อถกประเด็นเชิงสร้างสรรเกี่ยวกับเรื่องสาระของประชาธิปไตยให้กระจ่างชัด ดังนี้
มีความเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในหลายประการกับท่าน อ.สุลักษณ์ ครับ
ด้วยความเคารพอย่างสูงครับ
หากนึกแล้วว่า สาระของประชาธิปไตย น่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด
มันก็ควรจะได้มาด้วยวิธีของสาระของประชาธิปไตย มิใช่หรือ?
แล้ววิธีของสาระของประชาธิปไตย ที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมนั้น ควรจะเกิดโดยอำนาจที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างนั้นหรอกหรือ?
อัน นี้หมายถึงรัฐประหารตั้งแต่ครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จและอาจถกเถียงกัน ไปอีกร้อยปีว่า คณะราษฎร์ ทำโดยจุดมุ่งหมายเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน วิธีการเพื่อประโยชน์ของประชาชนในตอนแรก และเปลี่ยนแปลงไปด้วยกิเลสของมนุษย์ที่ได้กระทำต่อกัน จนมีรูปการและผลกระทบตามมาอีกมหาศาลที่เกิดนั้นในปัจจุบันนั้นเป็นเช่นไร?
พูดมาถึงตรงนี้ บุคคลที่ต่อต้านรัฐประหาร19กันยายน อาจจะเห็นด้วยในส่วนหนึ่ง ว่าการรัฐประหารไม่ใช่ประชาธิปไตย
ที่ จะกล่าวต่อไปนั้น เห็นด้วยกับอ.สุลักษณ์อย่างยิ่งว่า ที่เราอยากได้ ไม่ใช่เพียงประชาธิปไตยแบบไทยๆ หรือเผด็จการที่ใช้เครื่องมือที่เรียกว่าประชาธิปไตยในทุกๆฝ่าย
ประชาธิปไตยที่ว่ามานี้ ก็เหมือนระดับนักเรียน ที่คุณครูให้แต่งตั้งหัวหน้าห้อง โดยที่พยายามเลือกคนมาใช้งาน ให้ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยหัวหน้าคนนั้นปฏิเสธได้ยาก สิทธิในการเลือกปฏิเสธของทุกคนมีเท่ากัน แต่ประชาธิปไตยปฏิเสธเสียงหนึ่งเดียวนั้นได้
เปรียบเทียบในขณะระดับผู้ใหญ่ที่ สส ต่างทุ่มตนเพื่อมุ่งเข้าสู่ผลประโยชน์เพื่อตนเอง โดยที่ประชาชนจำนวนมากปฏิเสธการคอรัปชันและการกระทำเผด็จการที่ไม่ใช่ ประชาธิปไตย และขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนต่อต้านกันอยู่
แต่ ถามว่าเสียงคนล้านคน สามารถดำเนินการแทนกระบวนการยุติธรรมได้หรือไม่ ก็ไม่ใช่อยู่ดี อำนาจตุลาการมาใหญ่ในแผ่นดิน ควบคู่กับอำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติ จะเดินขบวนกันอีกร้อยครั้ง จะปฏิรูปอีกร้อยหนก็ไม่ได้สาระของประชาธิปไตยอยู่ดี
แล้วการเรียนเรื่องประชาธิปไตย เราเรียนกันมาเช่นนี้ไม่รู้กี่ปี แล้วถามว่าเด็กนักเรียนสักกี่%ของประเทศที่เข้าใจ
คำ ถามมีอยู่ว่า นักเรียนทุกคนได้เข้าใจหรือไม่ ว่าทำไมต้องเลือกหัวหน้าห้อง เราจำเป็นต้องมีจ่าฝูง หรือกฎระเบียบแบบแผนใดมากำหนดกรอบชีวิตเพียงเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของสังคม และผลลัพธ์รวมที่ทำให้สังคมไปต่อได้ในทางที่ดี หรือ normalดังที่อริสโตเติลว่า
(เช่น หัวหน้าห้องคอยแบ่งกระจายเวรให้ทุกคนในชั้น ครูก็ไม่ว่า แล้วเอาชีวิตรอดจนจบเทอมไปได้ ขอพูดเฉพาะเรื่องเวร โดยถือว่าเวรเป็นหน้าที่ที่ต้องทำเพื่อให้ห้องเรียนดำรงอยู่ได้ขั้นพื้นฐาน มิเช่นนั้นทุกคนต่างเสียชีวิตจากการถูกคุณครูเชือด) นี่เป็นการเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยตั้งแต่ระดับชั้นประถม จริงหรือ! หรือเป็นเพียงแค่การรับรู้ โดยยัดเยียดให้คิดมาตลอดชีวิต โดยไม่รู้เลยว่าประชาธิปไตยคืออะไร
ปัญหาสำคัญของนักวิชาการทั้งหลายที่วิพากษ์กันอย่างสนุกสนาน แต่ไม่ได้ลงสนามทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมไทย ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านต่างๆ
ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องที่เริ่มจากปากของนักวิชาการ และให้ประชาชนได้คิด อย่างนั้นก็ยัดเยียดการศึกษาที่คนยากจนไม่ได้ต้องการมากกว่าเงิน หรือทุนนิยมที่ทุกคนด่าว่าสามานย์ แต่ก็ขอจับมือไปก่อน
เมื่อไรก็ตามที่ประชาชนยังไม่คิดเอาสาระของประชาธิปไตย นั่นไม่สามารถเป็นสาระของประชาธิปไตยของประเทศไทยได้!
ในการนี้ แม้ข้าพเจ้ายังเชื่อว่ามีสาระของประชาธิปไตย ในระดับครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน สังคมเล็กๆอยู่ระดับหนึ่ง
แต่สาระของประชาธิปไตยที่แท้จริง ต่างอะไรกับการอยู่ในยุคดึกดำบรรพ์ที่มนุษย์ถ้ำมีสิทธิในการทุบหัวลากใครไป ทำภรรยาก็ได้เพื่อการสืบพันธุ์ โดยเปรียบเทียบการสืบพันธุ์เป็นสาระของประชาธิปไตย
โดยยังไม่ขัดต่อหน้าที่ที่ดำรงชีวิตร่วมกันอยู่ในสังคม วัฒนาการจนมาถึงโลกยุคปัจจุบัน (เขาทำหน้าที่ได้ดีทีเดียว ที่ว่ามานี้ในแง่มุมสำหรับผู้ต้องการสาระของประชาธิปไตยเพื่อสังคมที่ดำรงอยู่ต่อไป)
ในเมื่อสาระของประชาธิปไตยไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ ข้าพเจ้าเชื่อเช่นนั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นโดยปราศจากอำนาจรัฐ และการศึกษาของประชาชนในชาติตราบจนทุกวันนี้
อยากเรียนถามว่า ใครต้องการสาระของประชาธิปไตย?
พวกเรา? พวกเขา? สถาบันกษัตริย์? นายทุน? เสื้อเหลือง? เสื้อแดง? นักวิชาการ? มหาวิทยาลัยต่างๆ?
ไม่มีใครต้องการสาระของประชาธิปไตย(ยกเว้นพูด) เพราะไม่มีใคร”กระทำ”ได้ในสาระประชาธิปไตยโดยปราศจากความร่วมมือของผู้อื่น และไม่มีความเท่าเทียมกันทุกประการอย่างแท้จริงในเอกภพนี้!
จึงอยากเรียนถามว่า กระแสที่หมุนโลกนี้ เป็นกิเลสของมวลมนุษย์ จริงหรือไม่? ข้าพเจ้าไม่ทราบ
แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่า วิธีการของกระแสนั้นนี้ ดึงความต้องการของมวลมนุษย์โดยรวม
ใครเสียงมากลากไป ใครฉลาดและมีวิธีการดีก็ลากไป ใครทุนหนาดึงดูดใจก็ลากไป วิธีการจะเป็นอย่างไรแต่ผลลัพธ์เป็นเช่นนั้น
ทักษิณเป็นประชาธิปไตยจริงๆ ส่วนหนึ่งข้าพเจ้ายอมรับในการเลือกตั้งที่มีคนหลายล้าน “อยากให้” ทักษิณเป็นนายกฯ
และหากทุกคนหลายล้านนั้นมีเสียงมากกว่าคนที่ไม่อยากให้ทักษิณคอรัปชัน หรือทำลายสถาบันกษัตริย์ ผลมวลรวมที่เกิดขึ้นก็มุ่งไปสู่หนทางที่ไม่ใช่สาระของประชาธิปไตยอยู่ดี คือการใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ไม่มีใครเคารพ
สาระของประชาธิปไตยในเรื่องนี้อยู่ที่ใด และอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง ขึ้นอยู่กับว่าใช้อะไรตัดสิน
ดังนั้น การจะถกกันในมหาวิทยาลัยไหน โดยสรุปแล้วครับ โดยไม่นับ อาจารย์ สุลักษณ์
มันเกือบไร้สาระทั้งสิ้น(สำหรับสังคมภายนอก) ที่จะมาเห็นการแสดงภูมิปัญญาในห้องประชุม โดยได้แลกเปลี่ยนถ่ายเทสารเคมี การสั่นสะเทือน และการเปลี่ยนถ่ายพลังงานกับสิ่งแวดล้อม และโลก ก็เท่านั้นเอง แต่มหาวิทยาลัยยังไม่สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมได้มาก อย่างมากก็บรรลุสาระของประชาธิปไตยในแบบที่พวกท่านต้องการ บรรลุสาระประชาธิปไตยเพียงชั่วไม่กี่นาทีในห้องประชุมเพียงเท่านั้น สังคมทุกวันนี้ไม่ได้ต้องการสิ่งเหล่านี้ และไม่ได้สนใจว่าใครจะได้เป็นบุคคลสำคัญของ UNESCO หรือไม่, นักปรัชญากล่าวอะไรไว้ ฯลฯ มิเช่นนั้นประชาไท ควรจะเป็นเว็บอันดับหนึ่งที่มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมมากเป็นสาระของประชาธิปไตยของประเทศไทยไปซะแล้วครับ
และไม่ใช่หน้าที่ของใครเลยที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม หรือประเทศชาติในทางที่ดีขึ้น
เป็นเพียงความต้องการของคนไม่กี่คน ในโลกนี้ (ยิ่งเฉพาะเทียบกับสัดส่วนของประชากรมวลรวมของโลกแล้ว)
และเป็นจิตสำนึกในการผลักดันสิ่งที่คนเหล่านั้นเชื่อว่าเป็นอะไรก็แล้วแต่ ที่ดี ที่ยึดมั่นหนทางต่อไป โดยการรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นหรือไม่ก็ตาม (ซึ่งเป็นสาระของประชาธิปไตยหรือไม่?)
ข้าพเจ้าเองเชื่อว่า การปฏิบัติและแสดงออกมา เพื่อไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้น ใช้สาระของประชาธิปไตยบางส่วนเป็นเครื่องมือเท่านั้นเอง
คนไม่กี่คนในอดีตที่เปลี่ยนแปลงโลกของเรา หรืออาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลยก็ได้ เช่น ไอน์สไตน์, ประธานาธิบดีลินคอร์น, ท่านพุทธทาส ฯลฯ
เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นต่างเป็นมวลรวมของความต้องการ(และความไม่ต้องการ และการอยู่เฉย หรือกระทำอะไรบางอย่าง) ทุกๆวินาทีของจำนวนปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งหมดในโลกรวมถึงจักรวาลในอดีต ที่ทำให้เกิดปัจจุบัน และไปสู่อนาคตต่อไป
ขอถามอีกครั้งว่า ใครต้องการ สาระของประชาธิปไตย?
มีเสียงแว่วตามสายลมว่า… คนดีที่ประเทศไทย ไม่ต้องการ
แต่ก็เชื่ออยู่ดีว่าประชาธิปไตยหรือจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ ไม่มีอะไรเป็นคำตอบที่พูดได้ มากไปกว่าการลงมือกระทำ
ป.ล. ด้วยความเคารพ ด้วยภูมิปัญญาอันน้อยนิด ยินดีรับฟังความคิดเห็นเพื่อมุ่งสู่สาระของประชาธิปไตยด้วยอีกหนึ่งคนครับ