หมอกล้าเล่า ตอนที่ 4 ความอ้วน, รายการหมอกล้า, ชเนษฎ์ ศรีสุโข EP. 4 โรคอ้วน
เวลาที่มีคนบอกว่าคุณอ้วน จริงๆแล้วคุณอ้วน จริงหรือเปล่า เราจะมีวิธีเช็คและดูแลตัวเองยังไง มาชมคลิปนี้กันนะครับ
สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการหมอกล้าเล่า ผมหมอกล้านะครับ หรือชเนษฎ์ ศรีสุโข
ทำไมใครๆ ก็พูดว่าตัวเองอ้วน แล้วเมื่อไหร่ถึงจะเรียกว่าอ้วน ในทางการแพทย์ เรามีวิธีการเช็คโดยใช้ค่า BMI หรือ Body mass index นั่นคือ น้ำหนักเป็นกิโลกรัม แล้วหารด้วย ส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ถ้าค่า BMI เกิน 25ถึงจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วน
เรามาลองคำนวณกันได้เลยนะครับตามสูตรนี้ได้เลยนะครับ
คนที่เป็นโรคอ้วน ควรที่จะลดน้ำหนัก เพราะลดวันนี้ สุขภาพดีวันนี้เลยครับ
ที่มาของโรคอ้วน
สำหรับโรคอ้วน จริงๆแล้วถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความซับซ้อนมากและเกี่ยวข้องกับเรื่องของไขมันในร่างกายที่เยอะขึ้นโดยตรง มี 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1. พันธุกรรม
2. โรคแอบแฝงที่อาจมีส่วนก่อให้เกิด โรคอ้วน เช่น ไทรอยด์ เบาหวาน โรคทาง Metabolism หรือการทำงานของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป
3. อาหาร หากเรารับประทานไม่เหมาะสม โดยนำพลังงานเข้าร่างกาย มากเกินความจำเป็น ทำให้พลังงานส่วนที่เหลือ ถูกเก็บสะสมเป็นไขมัน
4. การออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ โดยเราควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับปริมาณพลังงานที่เรารับประทานเข้าไป
5. ปัจจัยอื่นๆ เช่น สิ่งแวดล้อม ฮอร์โมน การนอน ความเครียด ความยากจน หรือ อื่นๆ
“ความอ้วน” ไม่ใช่แค่เรื่อง “ความสวยงาม” แต่เป็นปัญหาเชิงการแพทย์ เพราะส่งผลทำให้เกิดการเจ็บป่วย เกิดความเสี่ยงของโรคต่างๆ ได้แก่
– อาการกรน ส่งผลทำให้ Oxygen ไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
– เข่าทรุด เข่าเสื่อม จากการที่ฮอร์โมนไม่สมดุล ปัญหาทางสมรรถภาพทางเพศ ทำให้มีบุตรยาก กรดไหลย้อน โรคหัวใจ โรคทาง Metabolism เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดันโลหิตสูง และยังมีโอกาสก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ด้วย
เมื่อไหร่ที่คุณควรต้องไปพบแพทย์ ?
เมื่อคุณรู้สึกว่า ความอ้วนทำให้เริ่มมีปัญหากระทบต่อสุขภาพของร่างกาย เช่น เหนื่อยง่าย ภูมิแพ้กำเริบ เข่าเสื่อมเข่าทรุด หลังพัง มีปัญหาหัวใจ
คุณควรจะต้องรีบไปพบหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ โดยผมแนะนำให้ไปพบคุณหมอ ที่สามารถรักษาด้วยการให้ยาลดน้ำหนักที่ควบคุมอย่างถูกกฎหมาย และที่สำคัญ เราต้องติดตามเรื่องของน้ำหนักและอาการอื่นๆร่วมด้วยอย่างสม่ำเสมอ เพราะไม่ใช่กินแล้วน้ำหนักจะลดได้เลยในทันที อย่างไรก็ต้องใช้เวลา
โดยส่วนตัวของผมเอง ผมรักษาด้วยการให้กินยา และติดตามคนไข้ทุกเดือน “อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง” รวมทั้งให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เพื่อเสริมให้การลดความอ้วนได้ผลดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้น ได้แก่
– การออกกำลังกาย วันละ 30-45 นาที นับเวลาตั้งแต่เหงื่อออกเป็นต้นไป การออกกำลังกาย เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ไทเก๊ก มวยไทย หรืออื่นๆ
– การควบคุมอาหาร เน้นอาหาร ต้ม นึ่ง ปลา ผักผลไม้ หรือวิตามินเสริม เพราะบางทีการที่เราจำกัดอาหารมากเกินไป จะทำให้วิตามินบางอย่างที่ละลายในไขมันไม่สามารถดูดซึมได้ดี
– การปรับพฤติกรรมการนอน ให้หัวค่ำขึ้น เพราะการนอนดึก สมองจะรวน และทำให้อ้วนขึ้นได้
สำหรับวันนี้รายการหมอกล้าเล่า ก็ขอขอบคุณ และเป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะครับ สวัสดีครับ
อ่านบทความย้อนหลัง “หมอกล้าเล่า”
10 คำแนะนำสิว
4 สาเหตุการเกิดสิว และการรักษา