ชมรมแพทย์ (อ้าง) ชนบท ?
ชมรมแพทย์ชนบท, ตระกูล สอ, สปสช, สสส, ทุจริตคอรัปชั่น
ชมรมแพทย์ชนบท, ตระกูล สอ, สปสช, สสส, ทุจริตคอรัปชั่น
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000094636
ชเนษฎ์ ศรีสุโข พบ., วทม.
องค์กรต่างๆที่สร้างความเจริญพัฒนาให้กับประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชนนั้น ย่อมมีวัฒนธรรมองค์กร และการสืบทอดอุดมการณ์ระหว่างรุ่นสู่รุ่น เพื่อที่จะทำให้พวกเขาสามารถดำรงเอกลักษณ์ วิถีปฏิบัติที่เหมาะสม
อดีตสมัยที่ “คนเดือนตุลา” เป็นคนรุ่นใหม่ของประเทศ หมอรุ่นคุณพ่อคุณแม่เรียนจบใหม่ ไฟแรง มีค่านิยมแห่งการอุทิศตน แข่งขันกันออกไปทำงานต่างจังหวัด รู้ว่าโรงพยาบาลที่ไหนทุรกันดาร ความเจริญไปไม่ถึง ก็ออกไปอยู่ตั้งหน้าตั้งตาทำงานช่วยคนยากไร้ ถือว่าเป็นรางวัลแห่งชีวิต หลายคนเคยเป็นหมอคนเดียวของทั้งโรงพยาบาล หรือของทั้งแผนกมาก่อน หลายคนนำทุนจากโรงพยาบาลต่างจังหวัดไปเรียนต่อเฉพาะทาง และก็กลับมาทำงานในจังหวัดนั้นๆจนเกษียณอายุราชการ เกิดความใกล้ชิด สร้างความกินดีอยู่ดีให้ประชาชนในท้องถิ่น อุดมการณ์ที่สูงส่งของหมอรุ่นนี้ ทำให้เครือข่ายวงการสาธารณสุขเจริญเติบโตไปมาก กระจายตัวไปถึงคนชนบท ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเข้มแข็งด้านการสาธารณสุข
เคยมีการรวมตัวของกลุ่มแพทย์นักเคลื่อนไหวบางส่วน ก่อตั้ง “ชมรมแพทย์ชนบท” มีอาจารย์หลายท่านเป็นต้นแบบการอุทิศตน ท่านหนึ่งคือผู้อาวุโสเจ้าของทฤษฎี “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ชมรมแพทย์ชนบทมีการสร้างเครือข่ายแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน หลังชมรมก่อตั้ง ใน พ.ศ.2523 ได้รับความรัก ความไว้วางใจจากเพื่อนแพทย์ที่ศรัทธาในอุดมการณ์เดียวกัน คนในชมรมได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกแพทยสภา เป็นเลขาธิการแพทยสภา ตลอดช่วง พ.ศ.2530-2538 หลังจากนั้นเมื่อแพทย์ทั่วประเทศเสื่อมความศรัทธาในชมรมนี้ เพราะอุดมการณ์ของชมรมกับบริบทความเป็นจริงของสังคมไม่สอดคล้องกัน แพทย์ชนบทก็หันไปจับมือกับคุณทักษิณ ก่อตั้ง ตระกูลสอ เช่น สปสช. สสส. สช. สพฉ. ฯลฯ เป็นเวทีให้ตนเองตั้งแต่ พ.ศ.2540 เป็นต้นมา และเป็นต้นกำเนิดของความขัดแย้งที่ซับซ้อน ระหว่างหมอที่ทำงานจริง กับ กลุ่มชมรมแพทย์ชนบท