TheStandard Co, บทความวิชาการ, นายแพทย์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, คุณหมอกล้า, หมอกล้าเล่า
TheStandard Co, บทความวิชาการ, นายแพทย์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, คุณหมอกล้า, หมอกล้าเล่า
รวบรวมบทความที่ลงในวารสาร เดอะ สแตนดาร์ด The Standard
TheStandard Co, บทความวิชาการ, นายแพทย์, ชเนษฎ์ ศรีสุโข, คุณหมอกล้า, หมอกล้าเล่า
รวบรวมบทความที่ลงในวารสาร เดอะ สแตนดาร์ด The Standard
ชเนษฎ์ ศรีสุโข , แนวคิด, ปฏิรูปประเทศ, ปฏิรูปวงการสาธารณสุข
ช่วงหลังนี้ จะผันตัว ไปทำสาระดีๆ ช่วยคน ให้ความรู้ทางการแพทย์ ที่เป็นเรื่องน่าสนใจ ร่วมกับ เครือข่ายอาจารย์ในวงการต่างๆ และ ไปคิดพัฒนาคุณภาพชีวิตคน พัฒนาท้องถิ่น สนับสนุน SME (ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดย่อม) ช่วยกันคิดหารายได้ให้ประเทศ
ส่วน เรื่องที่ผ่านมา 5-6 ปี เป็น ส่วนเล็กๆของขบวนการ “คนรู้ทัน” ในวงการสาธารณสุข ร่วมกับกลุ่มของ กรรมาธิการปฏิรูปประเทศด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละคนในกลุ่มนั้น ก็ไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อน อะไร
เราสนับสนุน การปฏิรูป ระบบสาธารณสุข ปฏิรูป เชิงกฎหมาย ต่างๆ ให้ประชาชนจริงๆ ได้รับผลประโยชน์ และ ให้คนทำงาน ภาครัฐบาล ที่มีอุดมการณ์ ได้ทำเพื่อ ความกินดีอยู่ดี ของชาวบ้าน ได้มีความสบายใจ ความคล่องตัว ทำงานภายใต้ การสนับสนุน งบประมาณภาครัฐ ที่เพียงพอ
และ อีกส่วน ร่วมกัน ปกปักษ์รักษางบประมาณแผ่นดิน มิให้ถูก โจรกรรม ในนาม นโยบายสาธารณะ องค์กรตระกูล สอ ngo สสส สปสช พวกแพทย์อ้างชนบท ทั้งหลาย ที่ใช้งบประมาณเยอะแยะ แต่ ผลงานไร้ประสิทธิภาพ มีพฤติการณ์ ผันเงินเข้ามูลนิธิตนเองบ้าง อยากตั้งกองทุนต่างๆ เพื่อ เอางบประเทศไปบริหารบ้าง บางคนไปไกล อาศัยความสงสาร ที่คนในสังคมมักสงสาร คนที่ทุกข์ยาก มาหลอกประชาชน ไปเข้าร่วมตั้งแคมเปญ หาประโยชน์ ให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เสียอีก (ล่าสุด ขนาดเพจอีจัน สามล้านไลค์ ยังตกไปเป็นเครื่องมือให้คนกลุ่มนี้ ด้วยซ้ำไป)
อย่างไรก็ตาม ต่อไปนี้ เชื่อว่าด้วยสิ่งที่ผู้ใหญ่ อาจารย์ หลายท่าน ทำในสังคม ตลอดจนเชื่อมั่นว่า คนในโซเชียล ประชาชนทุกคน ล้วนสามารถหาความรู้ได้มากขึ้น เท่าเทียมกัน และ มีการพิจารณา เรื่องราว ต่างๆ ด้วยความแยบคายมากขึ้น ก็ล้วนทำให้ภาคประชาสังคม ตื่นตัว และ รู้ทัน พวกแก๊งคนดี (ดีแต่ของบรัฐ) กันมากขึ้นแล้ว ก็นับเป็นนิมิตหมายอันดี และ สิ่งนี้จะทำให้ รัฐบาลใน สมัยปัจจุบัน และ รัฐบาลในสมัยอนาคต ระมัดระวัง ในการให้ และการใช้ งบประมาณ กันมากขึ้น รวมทั้งประชาชน และประเทศของเรา จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ เหลือบไร ทั้งหลายอีกต่อไป
บทความข้างต้นเป็นแถลงการณ์ตอนอายุ 30 ปี ของ นพ.ชเนษฎ์ ศรีสุโข กระนั้น ดูเคลื่อนไหวและมีความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องได้ทาง facebook.com/chanesd
ประชารัฐร่วมใจ ร่วมจ่าย ร่วมหาทางออกให้ระบบสาธารณสุขประเทศ
ตีพิมพ์บทความใน Manager online วันที่ 5 กันยายน 2559
ที่มา http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000089109
ชเนษฎ์ ศรีสุโข พบ., วทม.
ภาพรวมประเทศไทยตอนนี้ กำลังการผลิตแพทย์ต่อปีเพิ่มขึ้นมาก แพทย์จบใหม่ปี พ.ศ.2558 จำนวน 2,537 คน จาก 22 โรงเรียนแพทย์ในประเทศไทยและจากโรงเรียนแพทย์ต่างประเทศ กำลังการผลิตแพทย์นี้ มีทีท่าว่าจะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ และก็กำลังมีการเปิดโรงเรียนแพทย์ใหม่ๆเพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง ถ้าคิดคำนวณ จำนวนแพทย์ต่อประชากรไทย มีความเพียงพอมากขึ้น ขณะนี้ จำนวนแพทย์ต่อประชากรไทย น้อยกว่า 1:1500 ประชากรแล้ว ตามยุทธศาสตร์ประเทศในแผนพัฒนาสถิติ สาขาสุขภาพ ฉบับที่ 1 แม้แต่จำนวนแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขเอง ก็มีตำแหน่งเพิ่มมากขึ้น (ที่มาสถิติ : สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา)
ปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องจำนวนแพทย์ไม่พออีกต่อไปแล้ว แต่เป็น เรื่องของปริมาณภาระงาน การกระจายตัวแพทย์ คุณภาพของการรักษา และ ภาวะความขาดทุนของระบบ
Chanesd@Srisukho.com
บทความครั้งแรก วันที่ 24 กันยายน 2558
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000107799
ไม่นานมานี้ ได้มีโอกาสชมภาพยนตร์สั้น “The Message from the Lungs” แปลเป็นไทยได้ว่า ข้อความจากปอด
ภาพยนตร์สั้นตัวนี้ เป็นโฆษณารณรงค์เลิกสูบบุหรี่ที่สร้างสรรค์ และได้รับการชื่นชมระดับนานาชาติ เรื่องของเรื่องเริ่มด้วย การเล่าถึงหมึกที่มีสีดำ เป็นหมึกพิเศษที่ใช้เวลากว่า 50 ปี ของชีวิตคนๆหนึ่งจึงจะผลิตมาได้ และ เฉลยในภายหลังว่า ทีมนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำปอดของคนสูบบุหรี่มาสกัดเป็นหมึกดำออกแสดง เป็นข่าวทางสื่อสารมวลชนเพื่อรณรงค์ให้คนเลิกสูบบุหรี่
บุหรี่ จัดเป็นภัยคุกคาม ที่ทำลายสุขภาพคนในประเทศเราเป็นอย่างมาก ทางการแพทย์บอกว่าบุหรี่ทำให้แก่เร็ว สร้างริ้วรอย เป็นสาเหตุของมะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคปอด เช่นถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และ อีกหลากหลายโรค หลายคนชมคลิปแล้วคงสะท้อนใจ โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่เอง แต่การจะสะท้อนใจได้ไปจนถึงการมีจิตสำนึก พยายามเลิกบุหรี่ได้ดีเพียงไร ยังคงเป็นคำถามสำคัญ ที่ผ่านมาแม้หน่วยงานของรัฐจะมีมาตรการ ขยายฉลากที่ปิดซองบุหรี่ให้เป็นภาพน่ากลัว ใหญ่ขนาดไหนก็ตาม คนบางส่วนก็ยังสูบ และในสถานท่องเที่ยวยามค่ำคืนหลายแห่งในกรุงเทพ ปิดป้ายขนาดใหญ่เพื่อบอกภัยของบุหรี่ แต่คนก็ยังสูบในสถานที่นั้นๆ เช่นกัน…
ชมรมแพทย์ชนบท, ตระกูล สอ, สปสช, สสส, ทุจริตคอรัปชั่น
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000094636
ชเนษฎ์ ศรีสุโข พบ., วทม.
องค์กรต่างๆที่สร้างความเจริญพัฒนาให้กับประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชนนั้น ย่อมมีวัฒนธรรมองค์กร และการสืบทอดอุดมการณ์ระหว่างรุ่นสู่รุ่น เพื่อที่จะทำให้พวกเขาสามารถดำรงเอกลักษณ์ วิถีปฏิบัติที่เหมาะสม
อดีตสมัยที่ “คนเดือนตุลา” เป็นคนรุ่นใหม่ของประเทศ หมอรุ่นคุณพ่อคุณแม่เรียนจบใหม่ ไฟแรง มีค่านิยมแห่งการอุทิศตน แข่งขันกันออกไปทำงานต่างจังหวัด รู้ว่าโรงพยาบาลที่ไหนทุรกันดาร ความเจริญไปไม่ถึง ก็ออกไปอยู่ตั้งหน้าตั้งตาทำงานช่วยคนยากไร้ ถือว่าเป็นรางวัลแห่งชีวิต หลายคนเคยเป็นหมอคนเดียวของทั้งโรงพยาบาล หรือของทั้งแผนกมาก่อน หลายคนนำทุนจากโรงพยาบาลต่างจังหวัดไปเรียนต่อเฉพาะทาง และก็กลับมาทำงานในจังหวัดนั้นๆจนเกษียณอายุราชการ เกิดความใกล้ชิด สร้างความกินดีอยู่ดีให้ประชาชนในท้องถิ่น อุดมการณ์ที่สูงส่งของหมอรุ่นนี้ ทำให้เครือข่ายวงการสาธารณสุขเจริญเติบโตไปมาก กระจายตัวไปถึงคนชนบท ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเข้มแข็งด้านการสาธารณสุข
เคยมีการรวมตัวของกลุ่มแพทย์นักเคลื่อนไหวบางส่วน ก่อตั้ง “ชมรมแพทย์ชนบท” มีอาจารย์หลายท่านเป็นต้นแบบการอุทิศตน ท่านหนึ่งคือผู้อาวุโสเจ้าของทฤษฎี “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ชมรมแพทย์ชนบทมีการสร้างเครือข่ายแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน หลังชมรมก่อตั้ง ใน พ.ศ.2523 ได้รับความรัก ความไว้วางใจจากเพื่อนแพทย์ที่ศรัทธาในอุดมการณ์เดียวกัน คนในชมรมได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกแพทยสภา เป็นเลขาธิการแพทยสภา ตลอดช่วง พ.ศ.2530-2538 หลังจากนั้นเมื่อแพทย์ทั่วประเทศเสื่อมความศรัทธาในชมรมนี้ เพราะอุดมการณ์ของชมรมกับบริบทความเป็นจริงของสังคมไม่สอดคล้องกัน แพทย์ชนบทก็หันไปจับมือกับคุณทักษิณ ก่อตั้ง ตระกูลสอ เช่น สปสช. สสส. สช. สพฉ. ฯลฯ เป็นเวทีให้ตนเองตั้งแต่ พ.ศ.2540 เป็นต้นมา และเป็นต้นกำเนิดของความขัดแย้งที่ซับซ้อน ระหว่างหมอที่ทำงานจริง กับ กลุ่มชมรมแพทย์ชนบท
http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000090354
ผู้เขียนอยู่ในวงการแพทย์มานาน เพราะตั้งแต่จำความได้ ก็ได้เห็นความเหน็ดเหนื่อยจากการตรากตรำทำงานหนักของบุพการี การอยู่เวร อดหลับอดนอน เป็นเรื่องธรรมดาของหมอ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุขในระบบราชการ ที่ต้องทำงานไม่หยุดจนถึงเกษียณ ครอบครัวของเราต่อมาก็ล้วนเป็นคนในวงการเดียวกัน และเข้าใจวิถีชีวิตของกันและกัน สิ่งเหล่านี้เรียกว่าการสืบทอดวัฒนธรรมทางวิชาชีพ มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการการแพทย์อยู่บ่อยครั้ง หมอในระบบราชการทุกวันนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลจังหวัดล้วนรับภาระการรักษาที่หนักมาก และเป็นศูนย์รับการส่งต่อคนไข้จากโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ การตรวจคนไข้วันละหลายร้อยคน การทำงานเดือนละ 3-4 ร้อยชั่วโมง ถือเป็นเรื่องปกติ
เราทำงานอยู่ในจังหวัดที่น่าจะติดอันดับว่ามีความเจริญน้อย มีประชากรทั้งจังหวัด ประมาณ สามถึงสี่แสนคน กระนั้น แต่ก่อน เราก็มีความสุขดีไม่ต่างกับประชาชนในจังหวัดที่อยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน และ เราก็ไม่เคยเรียกตนเองว่าเป็นแพทย์ชนบท ความเป็นอยู่อย่างสงบของเรามีมานานจนเมื่อเกิดระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบนี้ทำให้ความสุขของหมอรัฐบาลลดน้อยลง
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า เกิดขึ้นในสมัยนายกรัฐมนตรี คุณทักษิณ โดย กลุ่มอาจารย์หมออุดมการณ์ที่เรียกตนเองว่า “แพทย์ชนบท” ล้วนมีอาจารย์ใหญ่คนเดียวกัน เจ้าของทฤษฎี “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ได้เจรจาสำเร็จในการก่อตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งคอยรวบรวมเงินงบประมาณการสาธารณสุขรายปีไว้ใช้จ่ายเอง และมีการใช้นโยบายบังคับให้โรงพยาบาลรัฐบาลทุกแห่ง รักษาฟรี หรือในชื่อ “สามสิบบาทรักษาทุกโรค” ระบบนี้มีคุณค่าอนันต์แก่ประชาชนไทยทั่วประเทศ เพราะ ทำให้คนเข้าถึงการรักษาในโรงพยาบาลรัฐบาลต่างๆ ได้รับการรักษาจากหมอผู้เชี่ยวชาญ และ แม้ว่าจะหายป่วยด้วยฝีมือแพทย์ท่านใดก็ตาม คนจำนวนมากก็ชื่นชมคุณทักษิณมาจนถึงทุกวันนี้
หมอณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ผู้พ่ายแพ้ เมื่อต้นปี ถูกเกมการเมืองย้ายไปนั่งตำแหน่งที่ไม่ได้ทำงาน ณ สำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมถูกกระแสสังคมถล่มจนนกหวีดทองคำหัก ข้อหามีปัญหาในการทำงานกับรัฐมนตรี ! …จนท่านต้องประกาศชัดว่า ไม่กลับ กระทรวงสาธารณสุขแล้ว จะอยู่เกษียณที่สำนักนายก
มีข่าวแว่วมาว่า เบื้องหลัง ทหารบอกท่านว่า ให้ไปคุยกับรัฐมนตรีให้รู้เรื่องแล้วจะย้ายกลับ ท่านตอบอย่างนักเลงว่า … ไม่คุย (ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่อย่างไร?) หากเป็นเรื่องจริง คนคนนี้ไม่ห่วงตำแหน่ง และไม่รับใช้อำนาจการเมืองที่ขัดกับอุดมการณ์ของตนและคนทำงานทั้งหมดในนามประชาคมสาธารณสุข
ต่อมาตอนนี้ หลังจาก นายกรัฐมนตรี เซ็นต์ ย้ายเลขาธิการ สปสช. องค์กรที่มีปัญหากับฝั่ง ประชาคมสาธารณสุข มานมนาน องค์กรที่ถูกกล่าวหาว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน และใช้เงินงบประมาณไม่โปร่งใส
ทำให้เกิดเสียงร้องเรียกในหมู่คนทำงานของกระทรวงสาธารณสุข ให้รัฐบาลทหาร แต่งตั้ง ท่านณรงค์ กลับมาเป็นรัฐมนตรี มีกลุ่มส่งเสียงผลักดันให้รัฐบาลดำเนินการปฏิรูป สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยการล้างบางบอร์ด สปสช.ใหม่ อีกด้วย
กระนั้น ฝั่ง สปสช. นำโดยตั้งแต่ บรมครู อาจารย์มงคล ณ สงขลา, อาจารย์วิชัย โชควิวัฒน์ ไปจนถึง ชมรมแพทย์ชนบท และแนวร่วมเครือข่ายประชาชน ก็ออกมาส่งเสียงดังชัดเจน วิพากษ์วิจารณ์ท่านนายก ให้เข้าใจข้อเท็จจริงฝั่ง สปสช. บ้าง พร้อมขุดคุ้ยเรื่องการใช้รถของ ปลัดณรงค์ มาวิจารณ์ว่าผิดกฎระเบียบ
ตอนนี้คนที่ น่าเห็นใจ มากที่สุด คือ ท่านนายกรัฐมนตรี เพราะต้องเลือกข้างความถูกต้อง… แต่ต้องไม่ทำให้คนเห็นว่าโอนเอียงไปเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ภาพตอนไปสังเกตการณ์ งานจัดสรรพื้นที่ใช้ทุน แพทย์ใหม่ ช่วง พฤษภาคม 2558 ได้พบกับ อาจารย์ นพ.ชัยรัตน์ เตชะไกรศักดิ์ อาจารย์สังกัดกรมควบคุมโรค
เคยเจออาจารย์หลายงานสมัยเป็นนักศึกษา (นานมากแล้วครับ T T) สมัยก่อนจัดกิจกรรมต่อต้านการสูบบุหรี่ ครับ อาจารย์ให้ความเมตตามาก
ส่วนเรื่องงานจัดสรรพื้นที่ใช้ทุน มาครั้งนี้เป็นปีที่ 5 แล้วครับ
ครั้งแรกที่มา ช่วง พ.ศ.2553-2554 เพราะตอนนั้นแพทย์รังสิต มีปัญหาถูกตัดสิทธิ์การจับฉลากกับทางกระทรวง ทั้งรุ่นเลยชุมนุม และขอร้องให้ทางมหาวิทยาลัยพูดคุยกับกระทรวงจนได้สิทธิ์มา ตอนจับฉลากแม้ไม่ต้องจับเอง(ได้ที่ไปใช้ทุนแล้วตอนนั้น) แต่ก็ไปสังเกตการณ์ดูความเรียบร้อย…
หลักการนี้ สามารถประยุกต์ใช้กับอาชีพต่างๆได้ เป็นการเรียนรู้จากบทเรียนความสำเร็จ อุปสรรค และ เรื่องราวชีวิตกว่า 30-40 ปี ของท่าน
ท่านจะกล่าวเสมอว่า แพทย์จบใหม่ หรือผู้น้อย ควรเรียนรู้ที่จะรับฟังประสบการณ์ของผู้อาวุโส เพราะเป็นการประหยัดเวลาชีวิตของตนเองหลายสิบปี
และ จะได้เรียนรู้สิ่งดี รวมทั้ง ระมัดระวัง ไม่ไปผิดพลาดเหมือนประสบการณ์อาจารย์อาวุโส ที่ได้รับฟังมา
สำหรับผู้สนใจ ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งสำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, แพทย์ ที่สนใจเรียนต่อ ปริญญาโท ด้านผิวหนัง, และผู้สนใจความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างแพทย์ไทย – ญี่ปุ่น สามารถติดตามไปอ่านได้ที่ กระทู้ http://pantip.com/topic/33446905 ครับ
คลิปรณรงค์ให้แพทย์ออกมาเลือกตั้งแพทยสภาครับ วาระ 2558-2560
An awareness campaign for TMC ‘s 2015 election in Thailand (The Medical Council of Thailand’s elected committee).
English ,Chinese and Thai subtitles are available.
http://www.youtube.com/watch?v=L3XGSVcacCA
[เขียนถึงเพื่อนแพทย์ และพี่น้อง ม.รังสิต ครับ]
ยาวนะครับ แต่ ขอบันทึกไว้เป็นรอยในประวัติศาสตร์…
พี่น้อง หลายๆท่านร่วมยุคเดียวกัน (รังสิตรุ่น 14 – 21, ส่วนผมเอง รุ่น 17) คงพอทราบว่า…นักศึกษาแพทย์ ม.รังสิต นั้น มีส่วนในการผลักดันหลายๆอย่างให้แก่คณะ สมัยที่เรียนอยู่ เพราะตอนเรียนนั้นมีอุปสรรคเกิดขึ้นมาก ความรักในสถาบันผลักดันให้เราทำครับ…
เราผลักดัน ตั้งแต่เรื่องการ พัฒนาหลักสูตรนักศึกษาแพทย์ใหม่ การเพิ่มทรัพยากร อุปกรณ์ การเพิ่มอาจารย์ เพิ่มอาจารย์ใหญ่ตลอดจนการสร้างตึกคณะแพทย์ที่ มหาวิทยาลัยรังสิต สำเร็จในปัจจุบัน เป็นเพราะแรงผลักดันจากศิษย์เก่าหลายๆท่าน และคณบดีท่านก่อน (พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล) ที่ล่วงลับไปแล้ว
เรื่องหนึงที่สำคัญมาก เลย คือเรื่องการได้ไปใช้ทุน (หรือโครงการเพิ่มพูนทักษะ) ไปใช้ทุนตามต่างจังหวัด
ในสมัยปี 2553-2554 นั้น เราถูกตัดสิทธิ์ ไม่ได้ให้เข้าจับฉลาก เนื่องจากตำแหน่งที่ กพ.(ข้าราชการพลเรือน) ให้ทางกระทรวงสาธารณสุข ไม่เพียงพอ มีการจะกีดกันไม่ให้แพทย์ที่จบจากรังสิต ได้จับฉลาก
หากไม่ได้จับฉลากไปใช้ทุน ก็จะลำบาก เพราะเราต่างมุ่งหมายใบเพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อไว้ใช้เรียนต่อแพทย์ประจำบ้าน สาขาต่างๆ
http://www.hfocus.org/content/2014/08/7998
ถ้าเป็นตามนี้จริง คิดว่าจะส่งผลต่อ ภาคส่วนต่างๆ ดังนี้
การแก้ปัญหาปลายเหตุเช่นนี้ เป็นแนวคิดเหมือนสมัย กรณีซูโดเอฟฟรีดีน (pseudoephedrine) ยาแก้คัดจมูกที่ช่วยคนได้ทั่วประเทศ แต่ดันมี เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหลายแห่ง แอบยาทำรั่วไหลไปให้ขบวนการผลิตยาเสพติด
เลยมีการประกาศห้ามใช้ ยกเลิกซูโดเอฟฟรีดีนทั่วประเทศ
(หมออดใช้ยารักษา ส่วนพวกค้ายาเสพติดก็ แค่ “เปลี่ยนวัตถุดิบกับแหล่งที่มา” และ “ลักลอบขายยาต่อ”)